ประกันสังคม
ทำฟันฟรี 900 /ปี
บัตรประชาชนใบเดียว สะดวกสบายไม่ต้องสำรองจ่ายที่ iDentist Dental Clinic
iDentist Dental Clinic ร่วมกับสำนักงานประกันสังคม อำนวยความสะดวกให้กับคุณในการเบิกประกันสังคมด้านทันตกรรม โดยที่ไม่ต้องสำรองจ่าย เพียงใช้หลักฐานแค่บัตรประชาชนใบเดียว สะดวกสบายไม่ต้องกรอกและส่งเอกสารเองทำเบิกให้วุ่นวาย
คุณจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมเป็นประจำทุกเดือน นอกจากใช้ดูแลสุขภาพเวลาเจ็บป่วยที่โรงพยาบาลต้นสังกัดของคุณ แล้ว ยังสามารถใช้สิทธิทำฟัน 900.- บาท/ปี ได้ที่เรา iDentist Dental Clinic โดยที่ไม่ต้องสำรองจ่ายทำเรื่องเบิกคืนเงินใดๆ การใช้สิทธิประกันสังคมทำฟันจะเป็นปีต่อปี ไม่สามารถทบไว้ใช้ในปีถัดไปได้
ดังนั้นรีบหาเวลาแวะเข้ามาใช้สิทธิของคุณทำฟัน กับเราง่ายๆ ก่อนหมดปีกันนะคะ เคยสงสัยกันไหมคะว่าการที่เราจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมเป็นประจำทุกเดือนนั้นสามารถเอาไปทำอะไรได้บ้างนอกจากดูแลสุขภาพ หรือสำรองจ่ายเวลาเจ็บป่วย อีกส่วนหนึ่งก็เพื่อเป็นสวัสดิการในการทำทันตกรรม ซึ่งทําฟันประกันสังคม 2566 ใช้สิทธิได้เพียงปีต่อปีเท่านั้น เพราะฉะนั้นอย่ามัวเเต่ทำงานจนลืมเช็คสิทธิทำฟันประกันสังคมกัน
ทำฟันประกันสังคมคืออะไร และประกันสังคมทําฟันปีละกี่บาท
เป็นสิทธิที่ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และ 39 สามารถใช้สิทธิทำฟันได้ฟรี โดยไม่จำกัดจำนวนครั้งภายในวงเงิน 900 บาท/ปี
และสิทธิในการเบิกค่าทำฟันปลอมได้ภายใน 5 ปี
สิทธิประกันสังคม ทำฟัน ไม่ต้องสำรองจ่าย
ขูดหินปูน
การทำความสะอาดฟันโดยการขจัดคราบหินปูน (คราบจุลินทรีย์ที่แข็งตัวและสะสมตามฟันและขอบเหงือก) ซึ่งการสะสมของหินปูนสามารถทำให้เกิดโรคเหงือกอักเสบ เหงือกร่น และอาจลุกลามเป็นโรคปริทันต์
อุดฟัน
คือการรักษาทางทันตกรรมที่ใช้ในการซ่อมแซมฟันที่ผุหรือเสียหาย โดยทันตแพทย์จะกำจัดเนื้อฟันที่ผุออกไป จากนั้นเติมวัสดุอุดฟันเพื่อคืนรูปทรงและการใช้งานของฟันให้อยู่ในสภาพปกติ
ถอนฟัน
การรักษาทางทันตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเอาฟันที่มีปัญหาออกจากช่องปาก ซึ่งจำเป็นในกรณีที่ฟันไม่สามารถรักษาให้หายได้ เช่น ฟันผุขั้นรุนแรงจนไม่สามารถอุดหรือรักษารากฟันได้
ผ่าฟันคุด
การผ่าตัดเพื่อเอาฟันคุดออกจากช่องปาก ฟันคุดคือฟันกรามซี่สุดท้ายที่ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติเนื่องจากไม่มีที่ว่างเพียงพอในขากรรไกร ทำให้ฟันคุดเกิดการฝังตัวอยู่ในเหงือกหรือกระดูก ซึ่งอาจจะขึ้นผิดตำแหน่ง เบียดฟันข้างเคียง หรือเอียงตัวไปในทิศทางที่ไม่ปกติ
ฟันปลอม
อุปกรณ์ทางทันตกรรมที่ใช้ทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเคี้ยวอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ รักษารูปหน้าที่สมดุล และเสริมความมั่นใจในการพูดและยิ้ม ฟันปลอมมีหลายประเภท โดยแบ่งตามการใช้งานและวัสดุ
เอกสารกรณีอุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน และผ่าฟันคุด
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีทันตกรรม (สปส.2-16)
- ใบเสร็จรับเงิน
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี ของผู้ประกันตน โดยธนาคารที่สามารถรับค่ารักษาคืนได้มี 10 แห่ง ตามนี้
– ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
– ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
– ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
– ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
– ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
– ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
– ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
– ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
– ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
– ธนาคารออมสิน
– ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
สิทธิประกันสังคม กรณี “ทำฟันปลอม“
นอกเหนือจากสิทธิประกันสังคม ทำฟันในการ ขูดหินปูน, อุดฟัน, ถอนฟัน และผ่าฟันคุด หรือเคลียร์ช่องปากก่อน จัดฟัน ได้ 900 บาทต่อปีแล้ว ประกันสังคม ยังให้สิทธิในการเบิก สำหรับทำฟันปลอมทุกภายในเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ใส่ฟันปลอม แบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้
1. ฟันปลอมชนิดถอดได้บางส่วน
- ฟันปลอมจำนวน 1-5 ซี่ เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ในวงเงินไม่เกิน 1,300 บ.
- ฟันปลอมจำนวนมากกว่า 5 ซี่ เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ในวงเงินไม่เกิน 1,500 บ.
2. ฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปาก
- ฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปากบนหรือล่าง เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ในวงเงินไม่เกิน 2,400 บาท (ภายในระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ใส่ฟันเทียม)
- ฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปากบนและล่าง เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ในวงเงินไม่เกิน 4,400 บาท (ภายในระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ใส่ฟันเทียม)
เอกสารกรณีทำฟันปลอม
สิทธิประกันสังคม ใช้เอกสารทำเบิกค่า “ทำฟันปลอม” มีดังนี้
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีทันตกรรม (สปส.2-16)
- ใบรับรองแพทย์
- ใบเสร็จรับเงิน
- เวชระเบียนของแพทย์ผู้รักษา (ที่บันทึกการรักษา กรณีทำฟันปลอมถอดได้)
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี ของผู้ประกันตน
โดยนำเอกสารทั้งหมด ยื่นต่อสาขาสำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ ภายในระยะเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่เข้ารับบริการ
ขั้นตอนใช้สิทธิประกันสังคม “ทำฟัน“
ขั้นตอนใช้ สิทธิประกันสังคม ทำฟัน ไม่ต้องสำรองจ่ายง่ายๆ
1. เตรียมบัตรประชาชน ไปสาขา iDentist Dental Clinic คุณเลือก
2. ยื่นบัตรประชาชน ให้เจ้าหน้าที่เคาน์เตอร์ เพื่อตรวจสอบเช็คสิทธิประกันสังคม
3. แจ้งหัตถการที่ต้องการเข้ารับการรักษา อาทิ ขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน ผ่าฟันขุด หรือเคลียร์ช่องปาก ก่อนจัดฟัน
4. ตรวจสุขภาพฟัน และเช็คราคาก่อนตัดสินใจรักษา [การประเมินค่ารักษาขึ้นอยู่กับสภาพปัญหาฟันของแต่ละบุคคล]
5. กรณีมีค่าใช้จ่ายเกินตามกำหนด คนไข้ตกลงรับการรักษา คนไข้ต้องจ่ายค่าใช้จ่ายส่วนต่างเพิ่มเติมเอง
ธนาคารที่ผู้ประกันตน
ธนาคารที่ผู้ประกันตนสามารถรับค่ารักษาทันตกรรมคืนได้ ได้แก่
- ธนาคารไทยพาณิชย์
- ธนาคารกรุงไทย
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
- ธนาคารกรุงเทพ
- ธนาคารไทยพาณิชย์
- ธนาคารทีทีบี
- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
- ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย
- ธนาคารออมสิน
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ทําฟันประกันสังคมที่ไหนได้บ้าง
คุณสามารถใช้สิทธิประกันสังคมในการทำฟันได้ที่ iDentist Dental Clinic สถานพยาบาลหรือคลินิกทันตกรรมที่เข้าร่วมโครงการของประกันสังคม โดยสามารถตรวจสอบสถานพยาบาลหรือคลินิกใกล้บ้านที่เข้าร่วมโครงการได้ง่าย ๆ ตามนี
1. สอบถามจากสำนักงานประกันสังคม – ติดต่อสำนักงานประกันสังคมใกล้บ้าน หรือโทรสอบถามที่เบอร์ 1506 (สายด่วนประกันสังคม) เพื่อขอข้อมูลสถานพยาบาลหรือคลินิกที่เข้าร่วม
2. ค้นหาข้อมูลออนไลน์ – เข้าเว็บไซต์ของสำนักงานประกันสังคม (www.sso.go.th) แล้วค้นหาสถานพยาบาลใกล้คุณที่เข้าร่วมโครงการ โดยปกติจะมีรายชื่อคลินิกทันตกรรมที่รับประกันสังคมระบุไว้
3. สอบถามที่คลินิกทันตกรรมโดยตรง – หากคุณมีคลินิกที่ต้องการรับบริการ ให้สอบถามโดยตรงว่าคลินิกนั้น ๆ รับสิทธิประกันสังคมหรือไม่ และครอบคลุมการใช้สิทธิแบบไม่ต้องสำรองจ่ายหรือไม่
โดยทั่วไป คลินิกและโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่ง รวมถึงโรงพยาบาลประจำจังหวัด โรงพยาบาลรัฐในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด จะมีหลายแห่งที่เข้าร่วม